Latest update พฤศจิกายน 26th, 2024 3:16 PM
ก.พ. 02, 2024 admin ข่าวภูมิภาค 0
นายอนุชา บูรพชัยศรี สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ตั้งกระทู้ถามแยกเฉพาะที่รัฐสภาถามนายกรัฐมนตรี เรื่องการสนับสนุน และส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ว่า SME เป็นกลไกที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญรวมถึงรัฐบาลชุดนี้ด้วยนอกจากนั้นยังมีเรื่องบทบาทการพัฒนาสนับสนุนการเติบโตของ SME ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและของโลกด้วยทั้งนี้ หากพิจารณาจำนวนวิสาหกิจและปริมาณการจ้างงาน จะพบว่า SME มีจำนวนมากถึง 99.5% ของวิสาหกิจโดยรวม และจ้างงานถึง 72% ของการจ้างงานทั้งระบบ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีสวนสนับสนุน GDP ของประเทศมากถึง 6.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 35% ของ GDP โดย SME จะต้องมีการปรับตัวให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน ต้องพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ และยกระดับแรงงานสมัยใหม่ รวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี การพัฒนามาตรฐาน และการเข้าถึงช่องทางการตลาดสมัยใหม่ และตลาดในต่างประเทศนายอนุชา กล่าวว่า รัฐบาลที่ผ่านมาให้ความสำคัญในการเดินหน้า ส่งเสริมรัฐวิสาหกิจทั้งรายย่อย รายเล็กและรายกลาง (MSME) ของไทย ให้มีบทบาทในเศรษฐกิจทุกระดับ ซึ่งได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ การจัดทำงบประมาณ ทีเกี่ยวข้องกับการส่งเสริม MSME อย่างบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ มากมาย แผนงานที่ดำเนินการของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา มีการตั้งเป้าหมายไว้ด้วยว่า จะทำให้สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ SME ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั้งหมดไม่น้อยกว่า 40% ในปี 2570ทั้งนี้ รัฐบาลควรสร้างการเติบโตที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม มีกลยุทธ์และแนวทางการขับเคลื่อน อาทิ การพัฒนาธุรกิจในระยะเริ่มต้นให้เริ่มธุรกิจได้อย่างมั่นคง ยกระดับธุรกิจให้มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลก ฟื้นฟูธุรกิจที่ประสบปัญหาให้ฟื้นตัว ช่วยเหลือธุรกิจที่ยังชีพให้สามารถอยู่รอด สนับสนุนผู้ประกอบการสูงอายุในการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการเกษตรสู่การทำธุรกิจแบบมืออาชีพ�นอกจากนี้ รัฐบาลควรสร้างการเติบโตแบบมุ่งเป้า ภายใต้กลยุทธ์และแนวทางกับการขับเคลื่อน ได้แก่ สร้างส่วนแบ่งตลาดในประเทศให้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมการเข้าสู่สากล รวมถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ โดยมีกลยุทธ์และแนวทางการขับเคลื่อน ได้แก่ สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างความพร้อมของบุคลากรและแรงงาน ควรมีองค์ความรู้ผู้เชี่ยวชาญ มีศูนย์กลางในการให้ข้อมูล รวมถึงปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายจากนั้นนายอนุชา ได้สอบถามว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันมีแนวทางในการสนับสนุน MSME ในลักษณะอย่างใดบ้าง ดำเนินการตามมาตรการที่รัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการหรือไม่ นอกจากนั้นเรื่องแหล่งเงินทุนเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ MSME เดินหน้าต่อได้ ซึ่งปัจจุบัน จะมีแหล่งเงินทุนแหล่งเดียวหลัก คือสถาบันการเงิน แต่สิ่งที่อยากนำเสนอคือ ตลาดทุน คือต้องระดมทุนผ่านกองทุนที่ให้เอกชนสามารถเข้ามาดำเนินการได้ เป็นกลไกที่ผ่านตลาดทุนทั่วไป ซึ่งอาจจะมีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นควบคุม เพื่อให้ธุรกิจ Start Up จะก้าวเดินต่อได้ ตนจึงขอฝากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้คิดออกแบบตรงนี้ด้วยนายอนุชา กล่าวต่อไปว่า SME ปัจจุบันมีกว่า 3.2 ล้านราย มีการจ้างงานกว่า 13 ล้านคน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการทำแบบสำรวจ พบว่า MSME มีความกังวลมากที่สุด คือสถานการณ์การจ้างแรงงาน และแนวโน้มการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งมีการสอบถามมาว่า รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรหาก MSME กลุ่มนี้ได้รับผลกระทบ เพราะจากผลสำรวจพบว่าหากได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่สูงเกินไป จะมีการลดจำนวนแรงงาน หรือให้ทำหน้าที่ได้หลายหน้าที่ หรืออาจะมีการปลดออก จะมีการยกเลิกสวัสดิการ หรือโบนัส เงินเบี้ยเลี้ยง อาหารกลางวัน รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงานประจำให้เป็นรายวัน หรือจ้างเหมา จึงขอฝากรัฐบาลว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ จะต้องเดินหน้าด้วยความรอบคอบในการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างไรก็ตาม สำหรับกระทู้ถามของนายอนุชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ มาตอบกระทู้แทน โดยนายภูมิธรรม ชี้แจงว่า ขอบคุณข้อเสนอต่างๆ แต่ขอให้สบายใจได้ รัฐบาลคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะความสำคัญของการสนับสนุนและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรื่องการขึ้นค่าแรงรัฐบาลดูในเรื่องความถูกต้องเหมาะสมในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่ต้องมีรายได้ มีเงินเดือนที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับผลกระทบก็น่าเห็นใจ งานนี้ต้องมองให้กว้างทั้งระบบ แต่ถ้ามองเฉพาะส่วนจะเป็นปัญหา การจะทำให้ GDP ของประเทศเพิ่มขึ้น หรืออัดฉีดเม็ดเงินดิจิทัลจะทำให้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มวงจรทางเศรษฐกิจให้กว้างขวางขึ้น รัฐบาลต้องใช้หลายมาตรการ แต่หัวใจสำคัญคือ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตและแข็งแรง กำลังซื้อของประชาชนดี กิจการต่างๆ ก็จะโตขึ้น ถ้ามองเห็นทั้งระบบจะไม่เป็นปัญหา อย่างไรก็ตามจะขอรับข้อเสนอที่ดีและเป็นประโยชน์ไปพิจารณา
พ.ย. 26, 2024 0
พ.ย. 26, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0