Latest update พฤศจิกายน 21st, 2024 3:00 PM
ก.ย. 02, 2023 admin ข่าวสังคม 0
วันนี้ (1 ก.ย. 66) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 51 เข้าปฏิบัติงาน ณ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นวันสุดท้ายโดยในเวลา 13.39 น. เข้ากราบถวายสักการะเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามจากนั้น ในเวลา 15.59 น. สักการะพระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ห้องปฏิบัติงาน และเดินลงจากห้องทำงานเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ 1) ศาลพระชัยมงคล 2) ศาลพระกาฬไชยศรี 3) พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย คณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดปริมณฑล ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่ในสังกัด สมาคมแม่บ้านมหาดไทย และสื่อมวลชน ตั้งแถวร่วมแสดงมุทิตาจิต มอบดอกไม้แด่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย บริเวณมุกด้านหน้าของห้องโถง อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย จากนั้น ในเวลา 16.39 น. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้นั่งรถยนต์ส่วนตัวเดินทางออกจากกระทรวงมหาดไทยทางประตูพระยม โดยมีกองเกียรติยศกองบัญชาการอาสารักษาดินแดนตั้งขบวนส่งอย่างสมเกียรติ ตลอดแนวถนนอัษฎางค์ และข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตั้งแถวส่งด้วยความเคารพรักและผูกพันตลอด 9 ปีของการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2557″พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยาวนานที่สุดเป็นลำดับที่ 3 ทั้งนี้ นับเนื่องแต่การสถาปนากระทรวงมหาดไทย มีผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยาวนานที่สุด ได้แก่ 1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ยาวนานที่สุดเป็นเวลา 23 ปี 2. จอมพล ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 18 ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 15 ปี และ 3. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 51 ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 9 ปี”พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คนที่ 51 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2557 โดยตลอดระยะเวลา 9 ปี ได้เป็นผู้นำการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารราชการกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศไทย ตามวิสัยทัศน์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งมีตัวอย่างผลงานที่สำคัญ เช่น ปี 2557 มีการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอทั่วประเทศ ทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องทุกข์/ร้องเรียน การให้บริการข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษา รับเรื่องปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน ปี 2558 ดำเนินการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป โดยใช้กลไกศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูประดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น เป็นศูนย์กลางในระดับพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน ปี 2559 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอย “จังหวัดสะอาด” และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ร่วมกันพัฒนาคูคลองและพื้นที่บริเวณริมคลองให้มีภูมิทัศน์ที่สะอาดและสวยงาม การช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรและประชาชนสามารถลดรายจ่าย สร้างรายได้ และขยายโอกาสในการปรับตัวให้ผ่านพ้นวิกฤตภัย สนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล จ้างแรงงานในพื้นที่ โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ และการสนับสนุนคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล” โดยจัดที่ดินทำกินให้ประชาชนผู้ยากไร้เข้าทำประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐประเภทต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ในที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่ราชพัสดุ และพื้นที่ป่าสงวนไว้เพื่อกิจการนิคมสร้างตนเอง และการสนับสนุนคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล” และการจัดระเบียบสายสื่อสารและสายสาธารณูปโภค ด้วยการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ปี 2560 การจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและบริการภาครัฐ (Linkage Center) ปี 2561 การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตาม “โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” และการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ การจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด 76 จังหวัด และโครงการตลาดประชารัฐ ปี 2562 การจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 และการขับเคลื่อนการจัดทำและประสานแผนพัฒนาในระดับพื้นที่ให้เชื่อมโยงกันในทุกระดับ (One Plan) เพื่อให้การจัดทำแผนตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล ท้องถิ่น และอำเภอ สนองตอบความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ปี 2563 การดําเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย ทั้งมาตรการป้องกันและช่วยเหลือ ประชาชน มาตรการการกระจายหน้ากากและเวชภัณฑ์สําหรับประชาชน และการดำเนินโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ปี 2564 การดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนให้เป็นฐานของการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาคนเพื่อให้คนไปพัฒนาพื้นที่ นำมาซึ่งการใช้ชีวิตได้มีความสุขอย่างยั่งยืน โครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ ทำให้เกิดการจ้างงานและการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับวางแผนพัฒนาพื้นที่ที่มีคุณภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และทุกภาคส่วนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าผ่านการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่ ปี 2565-2566 การขับเคลื่อนงานศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในจังหวัดและศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมอื่นของกระทรวงมหาดไทยและทุกจังหวัดทั่วประเทศ และการดำเนินโครงการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (ThaiD) สร้างความสะดวกสบายและการเข้าถึงบริการภาครัฐผ่านโทรศัพท์มือถือให้กับพี่น้องประชาชน เป็นต้น #โอดี้FMมีเดียประเทศไทย#โอดี้NEWSสำนักข่าวภูมิภาค#สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้NEWS
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0