Latest update พฤศจิกายน 24th, 2024 11:16 PM
มิ.ย. 02, 2023 admin ข่าวสังคม 0
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการยกระดับการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระหว่าง สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) โดยมี ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สพฉ. และ ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ สกพอ. ร่วมลงนาม.นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า EEC เป็นพื้นที่เป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ เป็นเครื่องยนต์ เครื่องใหญ่ ที่จะทำให้เกิดทั้งรายได้ของประเทศ เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการลงทุน และทำให้ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขัน กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมงานกับ EEC มีหลายงานที่ทำร่วมกัน เกิดเป็นผลงาน และโครงการหลายโครงการ มีการประสานงานให้ความร่วมมือกันอย่างดีมาโดยตลอด สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นโมเดลที่สำคัญ โดยโครงการที่เราจะทำ MOU ในวันนี้ คือการสร้างความเชื่อมั่นสำหรับการแพทย์ฉุกเฉินที่จะช่วยเหลือทุกชีวิต ให้เข้าสู่ระบบการรักษาอย่างทันท่วงทีลดการเสียชีวิต เป็นการยกระดับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่ EEC ให้มีความก้าวหน้านำไปสู่เป้าหมาย และเดินหน้าไปได้อย่างเต็มศักยภาพ มีความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินเข้าถึงทุกคนอย่างเท่าเทียม.เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สพฉ. กล่าวถึง ความร่วมมือกับ สกพอ. ในครั้งนี้ เป็นการพัฒนายกระดับการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับสถานการณ์ที่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรทั้งคนไทย/ต่างชาติ และนักท่องเที่ยว รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างสมดุล โดยจัดให้มีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีมาตรฐานสำหรับสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนจากต่างประเทศ ในการเข้าถึงบริการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลด้วยบุคลากรที่มีศักยภาพและเชี่ยวชาญได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีหน่วยปฏิบัติการสถานพยาบาลรองรับการใช้บริการอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง.ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ สกพอ. เปิดเผยว่า การลงนาม MOU ครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญของ EEC และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่จะสร้างกลไกบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ EEC ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สนับสนุนการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนในพื้นที่ EEC ได้อย่างรวดเร็วทั่วถึง มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล รองรับการช่วยเหลือให้ผู้ป่วย ผู้ประสบภัยอุบัติเหตุร้ายแรง ได้เกิดการลำเลียงขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางอากาศยาน ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในพื้นที่ EEC ต่อเนื่อง.ทั้งนี้ สพฉ. จะสนับสนุนภาคีเครือข่ายให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งทางบก ทางน้ำ และอากาศ ให้มีมาตรฐาน ทั้งระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน ระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อปฏิบัติการฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา ปลอดภัย ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดแนวทางการร่วมลงทุนในธุรกิจบริการ การพัฒนาต้นแบบรูปแบบการร่วมลงทุนและสิทธิประโยชน์การแพทย์ฉุกเฉินด้านอากาศยาน เพื่อการยกระดับการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนคนไทย นักท่องเที่ยว นักลงทุนทั้งคนไทยและชาวต่างชาติต่อไป#โอดี้FMมีเดียประเทศไทย#โอดี้NEWSสำนักข่าวภูมิภาค#สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้NEWS
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0