Latest update พฤศจิกายน 24th, 2024 11:16 PM
ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม!! สำหรับเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร 2565 (Bangkok ASEAN Film Festival 2022) ครั้งที่ 8 คนรักหนังให้ความสนใจร่วมชมคับคั่ง โดยเฉพาะการประกวดผลงานฯ โดยหนังสั้นจากกัมพูชา คว้ารางวัล BEST ASEAN SHORT FILM ไทยได้ JURY PRIZE มาเลเซียได้ SPECIAL MENTION ในด้านรางวัลภาพยนตร์อาเซียน ฝั่งฟิลิปปินส์คว้าไป 2 รางวัล SEAPITCH Awardและ SPECIAL MENTION ส่วนไทยได้ Runner-Up Prize มาครอง พร้อมปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ 2565 สวยงาม วธ.ปลื้มคนดูหนังทุกรอบ มีผู้ชมเข้าชมงานจำนวนมาก สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ -รายได้ให้แก่ไทย พร้อมผลักดันกรุงเทพฯ ศูนย์กลางภาพยนตร์ของเอเชีย ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ภายในงานชมโชว์ศิลปะเอกลักษณ์ไทยจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยได้รับเกียรติจาก นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีปิดเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร 2565 (Bangkok ASEAN Film Festival 2022) ครั้งที่ 8 พร้อมทั้งมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน (ASEAN SHORT FILM COMPETITION) และมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน (SEA PITCH) : SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH) โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร ทูตานุทูต คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ผู้บริหารสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ คณะกรรมการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ฯ คณะผู้แทนหน่วยงานส่งเสริมภาพยนตร์อาเซียนดารา ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยและต่างประเทศ ผู้แทนภาครัฐและเอกชน ร่วมด้วยตัวแทนนักแสดงจากประเทศไทย “บูม สุภาพร วงษ์ถ้วยทอง, โบ๊ท ธารา ธิพา” ร่วมแสดงความยินดี โดยมี “ได๋ ไดอาน่า” ทำหน้าที่พิธีกร
นายอิทธิพล กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ จัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร 2565 (Bangkok ASEAN Film Festival 2022) ครั้งที่ 8 ตั้งแต่วันที่ 20 – 25 มกราคม 2566 ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ และโรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า นับเป็นอีกโอกาสที่สำคัญสำหรับบุคลากรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศพันธมิตรในเอเชีย ที่จะได้ร่วมมือกันฟื้นฟูและร่วมกันเริ่มต้นใหม่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ยั่งยืนต่อไป อีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ที่มุ่งใช้มิติวัฒนธรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย และผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของเอเชีย โดยงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียน มีกิจกรรมประกอบด้วย การจัดฉายภาพยนตร์คุณภาพ 25 เรื่อง จากประเทศสมาชิกอาเซียน และภาพยนตร์จากประเทศในเอเชีย ได้แก่ เกาหลี ฮ่องกง และอินเดีย พร้อมบรรยายภาษาไทย – อังกฤษ ผลปรากฏว่ามีผู้เข้าชมทุกเรื่องทุกรอบเป็นจำนวนมาก
“การจัดงานครั้งนี้เป็นที่น่ายินดีว่าได้รับความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายทั้งจากในและต่างประเทศ ที่สำคัญได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน Create Hong Kong (CreateHK) นำภาพยนตร์ฮ่องกงเข้ามาร่วมฉายในเทศกาล จำนวน 3 เรื่อง และเปิดทุน Hong Kong-Asian Film Collaboration Funding Scheme By CreateHK ทุนของรัฐบาลฮ่องกงสำหรับให้ทุนทั้งหมดต่อภาพยนตร์หนึ่งเรื่องประมาณ HK$9 million หรือประมาณ 38 ล้านบาท โดยจะให้กับภาพยนตร์ทั้งหมด 8 เรื่อง ดังนั้น ภาพรวมของการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนฯ ในครั้งนี้ยังถือเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย และประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภาพยนตร์ระหว่างกัน ส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของภูมิภาคนี้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปในเวทีโลก”
นายอิทธิพล เผยอีกว่า “สำหรับในปีนี้ วธ. ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน (ASEAN SHORT FILM COMPETITION) ผลปรากฏว่ามีผู้ชนะการประกวด จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัล BEST ASEAN SHORT FILM ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 2,000 USD คือเรื่อง Further and Further Away กำกับโดย Polen Ly จากประเทศกัมพูชา 2.รางวัล JURY PRIZE ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 1,000 USD คือเรื่อง All the Things You Leave Behind กำกับโดย ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์ จากประเทศไทย 3. รางวัล SPECIAL MENTION ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 500 USD คือเรื่อง Dreaming กำกับโดย Nelson Yeo จาก ประเทศมาเลเซีย ขณะเดียวกันมีการจัดการประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน (SEA PITCH) : SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH) เพื่อคัดเลือกโครงการสร้างภาพยนตร์ขนาดยาว 8 โครงการ โดยคนทำภาพยนตร์จากภูมิภาคอาเซียนที่มีไอเดียในการผลิตภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโครงการที่ผ่านการคัดเลือกผู้กำกับและโปรดิวเซอร์จะเข้าร่วมอบรมพิเศษออนไลน์ด้านการนำเสนอโปรเจกต์ (Pitching) กับผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ 2 ครั้ง เพื่อเตรียมตัวนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ ทั้งนี้มีผู้ชนะการประกวด จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย 1.รางวัล SEAPITCH Award ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 5,000 USD ได้แก่ The Boy and The Fight of Spiders กำกับ โดย Jarell Serencio จากประเทศฟิลิปปินส์ 2. รางวัล Runner-Up Prize ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 3,000 USD ได้แก่ Saddest Princess on Planet No.4 (เจ้าหงิญ) กำกับโดย เอมอัยย์ พลพิทักษ์ จากประเทศไทย และ 3. รางวัล SPECIAL MENTION ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 2,000 USD ได้แก่ Rookie กำกับโดย Samantha Lee จากประเทศฟิลิปปินส์ นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของภูมิภาคนี้ให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปในเวทีโลก”
#โอดี้NEWSข่าวบันเทิง
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 16, 2024 0
พ.ย. 13, 2024 0