Latest update พฤศจิกายน 22nd, 2024 5:14 AM
ธ.ค. 16, 2022 admin ข่าวภูมิภาค 0
วันนี้ (15 ธ.ค. 65) นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า จังหวัดนราธิวาส โดยอำเภอสุไหงโก-ลก ได้จัดกิจกรรมวันดินโลก (World Soil Day) ประจำปี พ.ศ. 2565 ภายใต้แนวคิดหลัก “Soils : Where Food Begins อาหารก่อกำเนิด เกิดจากดิน” ในงานสืบสานวัฒนธรรมอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองและงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ (Field day) ที่แปลงนาสาธิตบ้านโคกกลาง หมู่ที่ 3 ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยมี นายจตุรงค์ พรหมวิจิต เกษตรจังหวัดนราธิวาส นางทัดทรวง บุญธรรม ประชาสัมพันธ์จังหวัดนราธิวาส นายอนิรุทร บัวอ่อน นายอำเภอสุไหงโก-ลก ดาบตำรวจ รูสลาม อาแว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร ยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านมูโนะ นักเรียน และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมกิจกรรม.นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ตามที่สหประชาชาติ (UN) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น “วันดินโลก” (World Soil Day) เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงศึกษาค้นคว้าวิธีการจัดการทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนถึงการกระตุ้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกที่ดีในการรักษาทรัพยากรดิน และเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนกิจกรรมการรณรงค์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับดินและการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดิน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกอย่างเป็นรูปธรรม “การจัดกิจกรรมวันดินโลก ประจำปี พ.ศ. 2565 ในงานสืบสานวัฒนธรรมอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองและงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ (Field day) ในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่พี่น้องประชาชนชาวนราธิวาส ได้ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมือง (ซีบูกันตัง) ของเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งข้าวซีบูกันตังเป็นข้าวที่นิยมปลูกและนิยมบริโภคในพื้นที่ภาคใต้ เป็นพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมจากโครงการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเขตพื้นที่ภาคใต้อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งยังได้ร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้การทำนา โดยการอบรมและการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านสถานีการถ่ายทอดความรู้ 6 สถานี ในพื้นที่ 30 แปลง จำนวน 380 ไร่ ประกอบด้วย 1) สถานีบัญชีครัวเรือน 2) สถานีคลินิกพืช 3) สถานีปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และลดต้นทุนการผลิต 4) สถานีสัตว์บาลและการสุขาภิบาลสัตว์ 5) สถานีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ 6) สถานีการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ให้ยุวเกษตรกร เกษตรกรรุ่นใหม่ มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของทรัพยากรดินและการจัดการดินอย่างยั่งยืน นำความรู้ไปต่อยอด สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ เพิ่มความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ผวจ.นราธิวาส กล่าว.นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการพัฒนาชุมชน มุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมให้ทุกจังหวัดและอำเภอได้น้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมุ่งมั่นในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ผ่านโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา และการน้อมนำพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีความปลอดภัย และเพียงพอต่อการบริโภค ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ “แหล่งกักเก็บน้ำและดิน” ที่ต้องมีความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากสารเคมี รวมไปถึงการขับเคลื่อนโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน โดยมุ่งเน้นเรื่องการจัดการขยะ ส่งเสริมการคัดแยกขยะครัวเรือน ลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้ เพื่อทำปุ๋ยหมักจากขยะ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และที่สำคัญที่สุดคือการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของโลกร้อนในปัจจุบัน. “การสร้างความตระหนักในทรัพยากรดิน จะก่อให้เกิดความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารให้แก่ประชากรโลก เพราะดิน คือ จุดเริ่มต้นที่ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ รวมถึงการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งผลให้เกิดผลผลิตที่ดี (Better Production) ทำให้มีโภชนาการที่ดีขึ้น (Better Nutrition) และพื้นดินจะมีความร่มเย็นชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ กลายเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น (Better Environment) และที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเราดี (Better Life) คือ มีชีวิตที่ดี นำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรและประชาชน เพื่อสร้างสิ่งที่ดี Change for Good ด้วยการสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่คนในชุมชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสอย่างยั่งยืน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ” ผวจ.นราธิวาส กล่าวทิ้งท้าย#โอดี้FMมีเดียประเทศไทย#โอดี้NEWSสำนักข่าวภูมิภาค#สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้NEWS
พ.ย. 22, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0