Latest update พฤศจิกายน 25th, 2024 11:29 AM
ส.ค. 02, 2022 admin ข่าวสังคม 0
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่นชมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยกันขับเคลื่อนยกระดับการพัฒนาประเทศ จัดทำ SDG Investor Map แผนที่การลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมภาคธุรกิจไทยบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ตามแนวยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พร้อมขอบคุณทุกฝ่ายร่วมผลักดันนโยบายเมืองคาร์บอนต่ำ ร่วมมือสมาพันธรัฐสวิส ทำข้อตกลงถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ประจำประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ร่วมกันจัดทำแผนที่การลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDG Investor Map) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มข้อมูลเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนและภาคธุรกิจให้ความสำคัญต่อการลงทุนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการจัดเก็บข้อมูล และนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาวะตลาด เพื่อประกอบการตัดสินใจต่อการลงทุนต่าง ๆ อาทิ โอกาสทางตลาด ผลตอบแทนการลงทุน ผลประโยชน์ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งข้อมูลแบบเดียวกันจาก 19 ประเทศ ได้แก่ จีน โคลอมเบีย อาร์เมเนีย เบลีซ บราซิล คอสตาริกา จิบูตี กานา อินเดีย อินโดนีเซีย จอร์แดน เคนยา นามิเบีย ไนจีเรีย ปารากวัย รวันดา แอฟริกาใต้ ตุรกี และยูกันดา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้ผ่านการศึกษาวิจัยและการรับฟังความคิดเห็น เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และช่วยอำนวยความสะดวกในการสำรวจและค้นหาโอกาสการลงทุนให้กับนักลงทุน และองค์กรธุรกิจที่กำลังมองหาการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนไปพร้อมๆ การสร้างประโยชน์ให้แก่สิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ธุรกิจและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงาน Thailand SDG Investor Map นำเสนอ 15 โอกาสการลงทุนภายใต้ 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม ทรัพยากรหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก บริการด้านสุขภาพ การขนส่ง การเงิน โครงสร้างพื้นฐาน บริการ และการศึกษา ที่มีการดำเนินงานส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งรายงานนี้ถือว่าช่วยแก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการผลิต ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล และมุ่งเน้นไปที่การสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มเปราะบางเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด“เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ประจำปี พ.ศ.2566 – 2570 ของรัฐบาล ซึ่งให้ความสำคัญต่อการสร้างเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สังคมแห่งโอกาสและความเท่าเทียมกัน วิถีชีวิตที่ยั่งยืน และการเสริมสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เดินหน้าตามวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีผู้สนใจร่วมมือกับไทย โดย ทส. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum Of Understanding: MOU) ซื้อขาย “คาร์บอนเครดิต” ระหว่างประเทศไทยกับสมาพันธรัฐสวิส เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งเกิดความตื่นตัวในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศ พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero GHG emission) ตามเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรี #สำนักข่าวภูมิภาค#โอดี้NEWSรายงาน#โอดี้FMมีเดียประเทศไทย
พ.ย. 25, 2024 0
พ.ย. 25, 2024 0
พ.ย. 25, 2024 0