Latest update พฤศจิกายน 24th, 2024 11:16 PM
มิ.ย. 25, 2023 admin ข่าวสังคม 0
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ส่งมอบฐานฟื้นฟูปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า 240 ชุด แก่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พร้อมเยี่ยมชมพื้นที่วางฐานฟื้นฟูปะการังฯ ในงาน “ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า…จากฟากฟ้าสู่บ้านปลาใต้ท้องทะเล” โดยมี นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วย นายกิตติ เพ็ชรสันทัด รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ. เป็นประธานมอบฐานฟื้นฟูปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า 240 ชุด เพื่อนำไปวางบริเวณแนวปะการังพื้นที่เกาะไม้ท่อน อำเภอเมืองภูเก็ต โดยมี รศ.ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ดร.จตุรงค์ คงแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ม.อ. วิทยาเขตภูเก็ต และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยายานนายกิตติ เพ็ชรสันทัด รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ. กล่าวว่า ปัจจุบันภาคใต้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 3,723.52 เมกะวัตต์ และมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2% จังหวัดภูเก็ตมีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 รองจากจังหวัดสงขลา และสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2565 กฟผ. ได้ก่อสร้างระบบส่งขนาด 500 กิโลโวลต์ จากบางสะพาน 2 – สุราษฎร์ธานี2 – ภูเก็ต3 เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าพร้อมรองรับการใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย อีกทั้งมีแผนพัฒนาเสริมสร้างความมั่นคงระบบส่งในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงปี 2566-2569 เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพและสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้นอกจาก กฟผ. จะดูแลรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศแล้ว ยังตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และร่วมตอบสนองรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) โดย กฟผ. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรฟื้นฟูระบบนิเวศของท้องทะเลไทย ผ่านการนำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานและเสื่อมสภาพ มาทำเป็นปะการังธรรมชาติจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าและนำไปวางในท้องทะเล ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด โดยเน้นการลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Waste) ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy อีกทั้งร่วมตอบสนองนโยบายของประเทศในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ.2050 ทางด้าน นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า จากการศึกษาพัฒนารูปแบบและวิธีการนำวัสดุที่เหมาะสมในงานฟื้นฟูแนวปะการัง เมื่อปี 2565 ของ ทช. พบว่า หลังจากการวางลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าในพื้นที่เกาะไม้ท่อนเป็นเวลา 12 เดือน ตัวอ่อนปะการังชนิดต่าง ๆ เติบโตเฉลี่ย 2-12 เซนติเมตร พื้นผิวของวัสดุลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ามีสาหร่ายขนาดเล็กขึ้นปกคลุมและพบสัตว์ทะเลเกาะติด รวมทั้งมีหมู่ปลามากมายหลายชนิดเข้ามาอาศัยในบริเวณแนวปลูกฟื้นฟูปะการัง แสดงให้เห็นว่าการปลูกและฟื้นฟูปะการังธรรมชาติจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า มีแนวโน้มที่ดีต่อการสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์แก่สิ่งมีชีวิตบริเวณแนวปะการัง ส่งผลให้เกิดโครงสร้างสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนช่วยเพิ่มปริมาณทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเลไทยด้าน รศ.ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ม.อ. เผยว่า การนำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าเซรามิกที่ปลดระวางมาใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล เป็นแนวทางที่ช่วยฟื้นฟูแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ จากการทดสอบลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าภายใต้สภาวะจำลองสภาพแวดล้อมทางทะเล บ่งชี้ว่าการใช้ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าเพื่อสร้างแหล่งอาศัยให้สัตว์ทะเลสามารถทำได้ โดยไม่พบการชะละลายของโลหะหนักที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของความเค็ม ความถ่วงจำเพาะ และความเป็นกรด-เบส (pH) ของน้ำทะเล ก็เป็นค่าที่อยู่ในช่วงเดียวกันกับน้ำทะเลตามธรรมชาติด้วย สำหรับ โครงการฐานฟื้นฟูปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า กฟผ. ได้ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 โดยเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเพื่อนำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานและเสื่อมสภาพแล้ว มาสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์ทะเล เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศตามแนวชายฝั่งให้มีความอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันมีการวางลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าไปแล้วกว่า 4,000 ชุด ในท้องทะเลไทยตามจุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พังงา สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส#โอดี้FMมีเดียประเทศไทย#โอดี้NEWSสำนักข่าวภูมิภาค#สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้NEWS
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0