Latest update พฤศจิกายน 25th, 2024 10:34 AM
เม.ย. 21, 2023 admin ข่าวสังคม 0
วันนี้ (19 เม.ย. 66) 09.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง เป็นประธานการประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อบูรณาการการขับเคลื่อนแผนแม่บท ประเด็น 16 เศรษฐกิจฐานราก และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 7, 8 และ 9 ซึ่งได้รับเมตตาจาก พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีรจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พระปลัดสาธิต สุจิณฺโณ เลขานุการเจ้าคณะอำเภอแหลมสิงห์ วัดบางสระเก้า ร่วมประชุม โดยมี นายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ คำฝอย ผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ นางสาวศิริมาเมธ์วดี ศิรธนิตตรา ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล (Webex).นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เผยว่า กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) หมุดหมายที่ 7, 8 และ 9 สืบเนื่องมาจากการที่กระทรวงมหาดไทยโดยปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหนึ่งในคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 คณะที่ 3 ที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจของนายกรัฐมนตรี ตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ นี้ เป็นกลไกการบูรณาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่มุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคีเครือข่ายการพัฒนาในการขับเคลื่อนหมุดหมายต่าง ๆ ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในส่วนของคณะที่ 3 มีหมุดหมายที่รับผิดชอบ คือ หมุดหมายที่ 7 : ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้, หมุดหมายที่ 8 : ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน และหมุดหมายที่ 9 : ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม ซึ่งทั้ง 3 หมุดหมายมีประเด็นในการพัฒนาร่วม คือ “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก””กระทรวงมหาดไทยมุ่งมั่นขับเคลื่อนโดยนำปณิธาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ที่องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงมอบไว้มาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแผนแม่บท โดยทั้ง 7 กรม และ 4 รัฐวิสาหกิจ (การไฟฟ้านครหลวง, การประปาส่วนภูมิภาค, องค์การตลาด และองค์การจัดการน้ำเสีย) ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ต่างร่วมมือกัน Workshop ร่วมกัน นำมาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายทั้ง 4 ข้อ คือ 1) ประเด็นด้านหน่วยงานการขับเคลื่อนที่ควรให้มีการประสานหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องเข้ามาร่วมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการภายใต้แผนบูรณาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากร่วมกัน เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่ครอบคลุมและครบถ้วน 2) ประเด็นด้านการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ที่ควรให้มีการทบทวนการกำหนดเจ้าภาพหลักและรอง รวมถึงให้มีกลไกขับเคลื่อนแผนบูรณาการเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน นอกจากนี้ ยังควรมุ่งเน้นกลไกการบูรณาการการทำงานในระดับพื้นที่ทั้งในส่วนของกลุ่มจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น 3) ประเด็นด้านงบประมาณที่มีข้อเสนอแนะให้มีการจัดสรรงบประมาณในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง รวมถึงอาจมีงบประมาณในส่วนอื่น ๆ มาเสริมหนุน เพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน และ 4) ประเด็นด้านการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชน และภาคีเครือข่าย โดยมุ่งเน้นการใช้กลไกภาคีเครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานในรูปแบบประชารัฐ” รองปลัด มท. กล่าว.ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทยนั้น มีหัวใจสำคัญที่ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข คือ การสร้างทีมในพื้นที่ นำทีมโดย นายอำเภอ พร้อมบูรณาการภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขปัญหา พัฒนาพื้นที่และเมือง เพื่อประโยชน์ต่อประชาชน อาทิ โครงการ อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน, โครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านยั่งยืน, โคก หนอง นา, โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน และการสร้างความมั่นคงทางอาหารผ่านการปลูกผักสวนครัว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการดำเนินการที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจฐานรากในระดับพื้นที่ นำไปสู่สังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาค ตามหมุดหมายข้อ 7, 8, 9 ที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ ให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองทางสังคมอย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถขยายผลไปยังหมุดหมายข้ออื่น ๆ เช่น การสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนตามหมุดหมายที่ 10 และ 11 โดยการดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทยนั้น มุ่งเน้นการสืบสาน รักษา ต่อยอด โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้สังคมสามารถก้าวข้ามความยากจน สร้างการกินดี อยู่ดี มีสุข ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างภูมิคุ้มกันในแก่คนในสังคมให้เข้มแข็งพร้องรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมั่นคง”การประชุมในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการประสานความร่วมมือบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานรัฐ รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่มาร่วมช่วยกันเติมเต็ม อุดช่องว่าง เพื่อให้การขับเคลื่อนนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการบูรณาการความร่วมมือร่วมใจระดมความคิดเห็นและวางหลักแนวทางการดำเนินงานร่วมกันถือเป็นปัจจัยสำคัญในด้านการดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จ ในการก้าวไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างมั่นคงโดยในที่ประชุมได้มีการร่วมแสดงความคิดจากผู้แทนของ 15 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกหน่วยงานพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการนำแผนงานโครงการของตน ที่ครอบคลุมตามหมุดหมาย ที่ 7, 8, 9 เข้ามาร่วมยึดโยงแผนงานการดำเนินการร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนภายใต้หมุดหมายการพัฒนาทั้ง 3 ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) การขับเคลื่อนหมุดหมายที่ 7 มีแผนงานและโครงการ คือ 1) ส่งเสริมในเชิงธุรกิจ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โดย สสว. 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดย อพท. 3) จัดสรรหาที่ดินให้เกษตรกรภาคเหนือ โดย ธนาคารที่ดิน 4) ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการรองรับการเปลี่ยนแปลง โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 5) พัฒนาศิลปินพื้นบ้านสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อยอดช่องทางการตลาดออนไลน์ โดย วธ. 6) ออกแบบสินค้าด้านวัฒนธรรม โดย วธ. 7) เน้นการดำเนินงานมิติ 5 F โดย วธ. 8 ) โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการท้องถิ่น พื้นที่นำร่อง จ.ปัตตานี เป็นพี่เลี้ยงมหาวิทยาลัยในพื้นที่กับภาคเอกชน ทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่ โดย สอวช. 9) การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานราก โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขับเคลื่อน โดย พณ. 10) การส่งเสริมการประกอบการธุรกิจ โดย พณ. 11) การพัฒนาขีดความสามาถความร่วมมือระหว่างประเทศ การค้าชายแดน เมืองพี่เมืองน้อง โดย พณ. (2) การขับเคลื่อนหมุดหมายที่ 8 มีแผนงานและโครงการ คือ 1) การขับเคลื่อนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ ยูเนสโก โดย อพท. 2) เมืองอัจฉริยะเมืองน่าอยู่ โดย ทส.(3) การขับเคลื่อนหมุดหมายที่ 9 มีแผนงานและโครงการ คือ 1) Smart farmer/young smart farmer โดย กรมส่งเสริมการเกษตร 2) มีการจัดทำแผนแม่บทเกษตรกรรมระดับจังหวัด เชิญชวนเกษตรกรในพื้นที่มาร่วมเสนอพัฒนาระบบน้ำ /ระบบดิน/ระบบคน เสนอโครงการในหมุดหมายที่ 9 ความยากจนข้ามรุ่น โดย สภาเกษตรกรแห่งชาติ 3) โครงการพัฒนาทักษะแรงงาน 4.0 กลุ่มเป้าหมายคือผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนนวนสามหมื่นกว่าคน เพื่อพัฒนาให้เป็นแรงงานฝีมือและมีอุปกรณ์ทำมาหากิน ดำเนินการในพื้นที่ 76 จังหวัดตามความต้องการของพื้นที่ เน้นทักษะสร้างรายได้ โดย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 4) โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และโครงการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคม โดย รง. 5) การยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน โดย พม. 6) สร้างโอกาสสร้างงานและสร้างรายได้สำหรับคนทุกช่วงวัย โดย พม. 7) เสริมสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย (การเคหะแห่งชาติ) โดย พม. 😎 เน้นเรื่องการกระจายรายได้สู่ชุมชน โดย อพท. 9) การยกระดับคุณภาพการศึกษา โดย ศธ. 10) การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาทุกช่วงวัย โดย ศธ. 11) การพัฒนาทักษะด้านอาชีพ โดย ศธ. ซึ่งถือได้ว่าความร่วมมือนี้เป็นก้าวแรกในการเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างกัน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะบูรณาการ แผนงานให้ครอบคลุมตั้งแต่ในส่วนของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง” ผศ.พิเชฐฯ กล่าวรศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จากการที่กระทรวงมหาดไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ ผ่านกลไกการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ที่มุ่งเน้นการกระจายการพัฒนาลงสู่พื้นที่และเมือง เชื่อมโยงการพัฒนาทั้งระบบผ่านการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคีเครือข่าย และเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการ “โครงการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ สู่เป้าหมายความมั่นคงของมนุษย์และการพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นโครงการอันเกิดจากความร่วมมือจากทุกภาคีเครือข่าย โดยกระทรวงมหาดไทยจะมีการจัดสัมมนาความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมนวัตกรรม Agriculture Solar Solutions ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคีเครือข่าย เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ขจัดความยากจน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของพื้นที่ เสริมสร้างความแข็งแกร่งของชุมชนให้มีความสามารถในการบริหารจัดการและพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง เกิดพื้นที่และเมืองที่น่าอยู่ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกระดับ เป็นไปตามการพัฒนาตามหมุดหมาย 7, 8 และ 9 เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้อย่างแท้จริงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ ต้องมีกลไกสนับสนุนส่งเสริม ทั้งระดับนโยบาย และการดำเนินการจริงในระดับพื้นที่ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วนที่สำคัญ (Partnership) โดยรายละเอียดอื่น ๆ ที่ประชุมชุดนี้ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ อันในโอกาสต่อไป#โอดี้FMมีเดียประเทศไทย#โอดี้NEWSสำนักข่าวภูมิภาค#สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้NEWS
พ.ย. 25, 2024 0
พ.ย. 25, 2024 0
พ.ย. 25, 2024 0
พ.ย. 25, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0