Latest update พฤศจิกายน 24th, 2024 11:29 AM
ก.พ. 03, 2023 admin ข่าวภูมิภาค 0
ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีติดตามสถานการณ์ยางโลกและประเทศไทย โดยสถานการณ์ยางพาราโลกปี 2565 ปริมาณการผลิตอยู่ที่ 14.343 ล้านตัน มีปริมาณการใช้ยาง 14.805 ล้านตัน มีอุปสงค์ส่วนเกิน 0.462 ล้านตัน และคาดการณ์ในปี 2566 ปริมาณการผลิตอยู่ที่ 14.310 ล้านตัน มีปริมาณการใช้ยาง 15.563 ล้านตัน โดยคาดจะมีอุปสงค์ส่วนเกิน 1.253 ล้านตัน สำหรับสถานการณ์ยางพาราในประเทศไทย ปี 2565 ปริมาณการผลิตอยู่ที่ 4.754 ล้านตัน มีปริมาณการใช้ยาง 0.946 ล้านตัน คิดเป็นประมาณ 20% ของปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการส่งออก 4.497 ล้านตัน และคาดการณ์ว่าในปี 2566 ปริมาณการผลิต อยู่ที่ 4.743 ล้านตัน มีปริมาณการใช้ยาง 1.040 ล้านตัน และคาดจะมีปริมาณการส่งออก 4.403 ล้านตัน ส่วนสถานการณ์ราคายางพาราเฉลี่ยในประเทศไทยนั้น ปี 2565 ยางแผ่นดิบอยู่ที่ 55.61 บาท ยางแผนรมควันอยู่ที่ 58.91 บาท ยางก้อนถ้วยอยู่ที่ 45.95 บาท และน้ำยางสดอยู่ที่ 54.79 บาท ซึ่งมีการปรับตัวลงเล็กน้อยในส่วนของยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน ซึ่งปัจจัยและสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศที่ใช้ยางหลักและคู่ค้าสำคัญ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีพอใจต่อสถานการณ์การส่งออกยางของไทยที่ยังอยู่ในระดับต้น ๆ ของโลก พร้อมเน้นย้ำถึงพื้นที่เพาะปลูกยางต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างสมเหมาะตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงแนวทางดำเนินการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากถึงแม้พื้นที่เพาะปลูกน้อยลง ขณะเดียวกันก็ต้องปลูกในพื้นที่ที่ถูกกฎหมาย ไม่ไปปลูกในพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ป่าต้นน้ำหรืออุทยานต่าง ๆ รวมไปถึงพื้นที่ไม่ถูกกฎหมาย เพื่อป้องกันการกีดกันทางการจากต่างประเทศ รวมทั้งการรักษาตลาดเดิมและหาตลาดใหม่ การส่งเสริมวิจัยพัฒนายางและการแปรรูปอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ตลอดจนทิศทางการพัฒนาประเทศ พร้อมย้ำถึงการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลที่มุ่งดูแลประชาชนทุกภาคส่วนและพืชเกษตรทุกกลุ่ม รวมถึงยางพาราในการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง และการสนับสนุนส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศให้เพิ่มขึ้น ทั้งในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและภาครัฐต่าง ๆ โดยการใช้จ่ายงบประมาณทุกอย่างของรัฐบาลในการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ อยู่ภายใต้กฎหมายกรอบวินัยการเงินการคลัง และโปร่งใส ตรวจสอบได้ เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและเทศชาติเป็นสำคัญ รวมทั้งให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินการทุกโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาปรับแผนและการปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายที่กำหนดไว้นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้ยางพาราในการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ รวมทั้งถุงมือยางด้วย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนส่งเสริมการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น ยืนยันรัฐบาลพยายามทำทุกอย่างอย่างเต็มที่ กำหนดเป้าหมายชัดเจน และมีการวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนปลายน้ำ โดยมุ่งให้ประชาชนทุกกลุ่มอยู่รอด ปลอดภัย พอเพียงภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องที่ดินทำกินของประชาชน และการแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชน โดยขอให้ทุกคนช่วยกันเพื่อร่วมกันพัฒนาขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายที่กำหนดเกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืนที่ประชุมได้ติดตามสถานการณ์ยางพาราไทยและของโลก และรับทราบรายงานผลการจัดตั้งพื้นที่บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ โครงการเขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพาราระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor Rubber Innovation:SECri) รวมทั้งที่ประชุมเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 และเห็นชอบโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 2 โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ กนย. นำมติที่ประชุมเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการยางแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปพร้อมทั้งที่ประชุมเห็นชอบยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2566-2580) ตามที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ซึ่งมีการยางแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ตามที่เสนอ โดยให้ใช้ชื่อ “แผนปฏิบัติการด้านยางพารา พ.ศ. 2566-2580” เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตั้งชื่อแผนในระยะที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ กนย. นำมติการประชุมเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทย ปรับเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว และนำแผนปฏิบัติการด้านยางพารา พ.ศ. 2566-2580 ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป#โอดี้FMมีเดียประเทศไทย#โอดี้NEWSสำนักข่าวภูมิภาค#สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้NEWS
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 24, 2024 0
เม.ย. 01, 2022 0
พ.ย. 24, 2024 0