Latest update พฤศจิกายน 21st, 2024 3:00 PM
ธ.ค. 18, 2022 admin ข่าวสังคม 0
วันที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 17.33 น. ที่ห้องเพลนารีฮอลล์ (Plenary Hall) 1-2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานโครงการเทศกาลไหมไทย 2565 (Thai Silk Festival 2022) และทอดพระเนตรการแสดงแบบผ้าไทยร่วมสมัยและผ้าไทยลายอัตลักษณ์ 4 ภาค โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน ที่ปรึกษาและคณะทำงานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก คณะกรรมการบริหารสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย เฝ้ารับเสด็จ โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กราบทูลถวายรายงาน ความโดยสรุปว่า “ตลอดระยะเวลาที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้อุทิศพระองค์ปฏิบัติบำเพ็ญพระกรณียกิจนานัปการ เพื่ออำนวยประโยชน์สุขแก่อาณาประชาราษฎร์ ทรงมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไป ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระองค์ทรงต่อยอดผสมผสานมุมมองด้านแฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ เรื่องราวประจำภูมิภาค เป็นคุณูปการอย่างยิ่งแก่ปวงชนคนไทย อันเป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดถึงพระปรีชาสามารถในด้านการออกแบบ เกิดความเชื่อมั่นว่าความงดงามของผ้าไทยจะคงอยู่ คู่กับสังคมไทย ดังที่เห็นเป็นที่ประจักษ์ ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับเข้าสู่ชุมชน เป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค เป็นการกระตุ้นการสวมใส่ผ้าไทย ที่สามารถสวมใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกโอกาส เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาผ้าไทย พร้อมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้สำคัญเกี่ยวกับไหมไทย ในการเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์และการพัฒนาที่ยั่งยืน เปิดโอกาสให้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และช่างทอผ้า ได้มีพื้นที่ในการแสดง ผลงาน และเพิ่มช่องทางการตลาดไปสู่สากล เพื่อให้กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมามียอดการจำหน่ายและมีรายได้เพิ่มขึ้น แก้ไขปัญหาความยากจนและความเดือดร้อนของประชาชน อย่างเป็นระบบและยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งได้พระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดดำเนินโครงการเทศกาลไหมไทย 2565 (Thai Silk Festival 2022) ในครั้งนี้ และด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อเหล่าปวงชนชาวไทย กระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ขอน้อมนำพระดำริ ไปขับเคลื่อนดำเนินการเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่า ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ให้สามารถก้าวสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืนสืบไป” จากนั้น นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เบิกผู้รับเหรียญรางวัลพร้อมใบประกาศ และโล่รางวัลพระราชทาน เข้ารับพระราชทานรางวัลตามลำดับ คือ 1) คณะทำงานกรมการพัฒนาชุมชนที่สนองพระเดชพระคุณผ่านโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ปี พ.ศ. 2563 – 2565 จำนวน 33 ราย ได้แก่ นางศรินดา จามรมาน นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล นางวาสนา นวลนุกูล นายสุรศักดิ์ อักษรกุล นายวรงค์ แสงเมือง นายนุวัฒน์ พรมจันทึก นายภูภวิศ กฤตพลนารา นายสมชาย แก้วทอง นายพิศิษฐ์ เนตรวิเศษ นางพิจิตรา บุณยรัตพันธุ์ นายวทิต วิรัชพันธุ์ นายอิทธิ เมทะนี นายสมาน พั่วโพธิ์ นายสุรพล แก้วอินธิ นายจรัญ อินทสระ นายกัมปนาทจักรวาล วิเวศ ศรีพุทธา นางบำเพ็ญ เมืองมูล นางสาวกาญจนา ทองเกษม นางสาวริตยา รอดนิ่ม นางสาวอาภรณ์ เพชรรัตน์ นายอนุชิต โอชัยกุล นางสาวภัทรลภา สุริโย นางสาวอุดมพร ทับศฤงฆรา นางสาวปราณี ทองแท่ง นางสาวณัฐกานต์ กงแก้ว นางวรนุช กรุงเกตุ นางรัชต์วรรณ ไวยากรณ์ นางอำไพ ดวงคุณ นางสาวชัญญานุช มะนาต นายจิรวัฒน์ เพิ่มทอง นางสาวศรัญญา สืบสายหาญ 2) รางวัล “มหาดไทย ผ้าไทยใส่ให้สนุก” จำนวน 18 ราย ได้แก่ นายเอกรัฐ หลีเส็น นาวาตรีหญิง โนสมา หลีเส็น นายเชาวลิตร แสงอุทัย นางนวลจันทร์ แสงอุทัย นายโชตินรินทร์ เกิดสม นางปวีณ์ริศา เกิดสม นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต นางสุดารัตน์ แววบัณฑิต นายชาธิป ธุจนเสรี นางกาญจนี รุจนเสรี นายชนก มากพันธุ์ นางสาวเพชรปทุมมาพร ทองอุ่นเกศมณีศา นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ นางศลิษา ภิรมย์รัตน์ นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา นางละมัย เจริญโสภา นายสมคิด จันทมฤก ผู้ช่วยศาตราจารย์ศศิธร จันทมฤก 3) รางวัลการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” และงานหัตถกรรม ระดับประเทศ จำนวน 74 ราย ได้แก่ 1. ประเภทรางวัลพิเศษ Best of the Best นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย สีธรรมชาติยอดเยี่ยม นายวิทวัส โสภารักษ์ ลวดลายตามแบบพระราชทานยอดเยี่ยม นายวันเฉลิม ศรีภุยเดช Young OTOP นายศุภกิจ บุญมีเลี้ยง 2. ประเภทหมี่ข้อ หมี่คั่น ชนะเลิศ นายเนติพงษ์ กระแสโสม รองชนะเลิศ นางสมใจ คงชัยภูมิ รองชนะเลิศอันดับ 2 นางชนิกา สมอเผื่อน ชมเชย นายศักดิ์ชาย บุญญานุสิทธิ์ 3. ประเภทผ้าบาติก มัดย้อม ชนะเลิศ นางสาวชญาชล ทองเกียว รองชนะเลิศ นายปิยะ สุวรรณพฤกษ์ รองชนะเลิศอันดับ 2 นางจันทิมา สุขเมตตา ชมเชย นางมินตรา ท้าทอง 4. ประเภทผ้าแพรวา ชนะเลิศ นายวิทวัส โสภารักษ์ รองชนะเลิศ นายอดุลย์ มุลละชาติ รองชนะเลิศอันดับ 2 และชมเชย นางอัมพร โสภารักษ์ 5. ประเภทผ้าจก ชนะเลิศ นางณัฐธภา ทิพย์วัจนะ รองชนะเลิศ นางจีรนันท์ มูลน้ำอ่าง รองชนะเลิศอันดับ 2 นางสาวศิรินทิพย์ วงศ์หมุด ชมเชย นางสาวมุญชุพร อยู่เจริญ และนางสุนีย์ ทองสัมฤทธิ์ 6. ประเภทผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ ชนะเลิศ นางนภา สุยะใหญ่ รองชนะเลิศ นายศรันยู ศรีใส รองชนะเลิศอันดับ 2 นายสุระชัย หลงสิม ชมเชย นางอุลัยวัน แปลยาว 7. ประเภทผ้าซิ่นกลุ่มชาติพันธ์ลาวเวียง ลาวครั่ง ชนะเลิศ นายชญทรรศ วิเศษศรี รองชนะเลิศ นายสมประสงค์ กาฬภักดี รองชนะเลิศอันดับ 2 นางสาวสมบัติ ยอดสง่า 8. ประเภทเทคนิคผสมเทคนิคพื้นเมือง ชนะเลิศ นายมีชัย แต้สุจริยา รองชนะเลิศ นางสำราญ พรมบุตร รองชนะเลิศอันดับ 2 นายไวพจน์ ดวงจันทร์ ชมเชย นายวิทวัส โสภารักษ์ นายณกรณ์ ตั้งหลัก นายธัชชัย อยู่ยิ่ง และนางจำนง อินทร์สระคู 9. ผ้ามัดหมี่ 3 ตะกอ ชนะเลิศ นางสาวทัศนีย์ สุรินทรานนท์ รองชนะเลิศ นายอ่อนสี อินทร์เพ็ง รองชนะเลิศอันดับ 2 นายสุระชัย นาสูงชน ชมเชย นางสัญทัย นารีนุช นายไถง เชื้อมาก และนายศุภกิจ บุญมีเลี้ยง 10. ประเภทผ้ามัดหมี่ 2 ตะกอ ชนะเลิศ พระชาญชัย สุเมโธ รองชนะเลิศ นางกัลยา รัตนประเสริฐ รองชนะเลิศอันดับ 2 นางสมใจ คงชัยภูมิ ชมเชย นายวายุภัทร บัวจัตุรัส นายเนติพงศ์ กระแสโสม นางมณีรัตน์ สารีทา และนายจักษ์ภิรมย์ ศรีเมือง 11. ประเภทผ้ายก ยกเล็ก ไหมยกดิ้น ชนะเลิศ นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย รองชนะเลิศ นางสาวขวัญฤทัย บุญมา รองชนะเลิศอันดับ 2 นางอมรา ทาสัก ชมเชย นางสาวศศิวิมล สุมา 12. ประเภทผ้ายกแบบมีสังเวียน ไหมยกไหม หรือไหมยกดิ้นที่มีสังเวียน ชนะเลิศ นายอดุลย์ มุลละชาติ รองชนะเลิศ นางดารณี ใจตื้อ รองชนะเลิศอันดับ 2 นางสาวนันทภัต พงษ์ไชยยา 13. ประเภทผ้าขิด ชนะเลิศ นายพูลสวัสดิ์ จันทร์บุญ รองชนะเลิศ นางลำดวน นามบุตร รองชนะเลิศอันดับ 2 และชมเชย นางเสงี่ยมจิต จันทร์บุญ ชมเชย นางสุนา ศรีบุตรโคตร นายวิทวัส โสภารักษ์ นางมินตรา ม้าทอง และนายวันเฉลิม ศรีภัยเดช 14. ประเภทหัตถกรรม ชนะเลิศ นางพนิดา แต้มจันทร์ รองชนะเลิศ นางสาวฉัตรกนก ขุนทน รองชนะเลิศอันดับ 2 นายนพดล สดวกดี ชมเชย นางสาวธนญา นิ่มเนียม นางสาววิณุรา คงทอง นางภารดี วงศ์ศรีจันทร์ นายคมกริช บริบูรณ์ นางไพ อินสุวรรณ และนางสาวคณาธิปรายา คณานุรักษ์ 4) โล่รางวัลต้นกล้านารีรัตน ตามโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล จำนวน 5 ราย ได้แก่ ชนะเลิศ นางสาวกนกนิภา รัตนศิลา รองชนะเลิศ นางสาวอารียา บุญช่วยแล้ว รองชนะเลิศอันดับ 2 นางสาวศิริมา สงพิมพ์ ชมเชย นางสาวภูริษา ชัยรัตน์ และนายวัชรพล คำพรหมมา ด้าน ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน ร่วมเที่ยวชมงาน “เทศกาลไหมไทย 2565 (Thai Silk Festival 2022)” ถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2565 ณ บริเวณหน้าฮอลล์ 1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งท่านจะได้พบกับผลงานสุดยอดผ้าไหม และเลือกซื้อเลือกหาผ้าไหมไทย ทั้งผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี และผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา รวมถึงผลงานหัตถกรรมจากลวดลายพระราชทาน และผลงานจากศิลปินโอทอป เพื่อช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรายได้กลับคืนสู่พี่น้องช่างทอผ้าในชนบททั่วประเทศ ไปจุนเจือครอบครัว ลูกหลาน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน”#โอดี้FMมีเดียประเทศไทย#โอดี้NEWSสำนักข่าวภูมิภาค#สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้NEWS
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0