Latest update พฤศจิกายน 23rd, 2024 1:38 PM
ต.ค. 11, 2022 admin ข่าวสังคม 0
วันนี้ (วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2565) เวลา 08.30 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อนำส่งรายงานประจำปี 2565 ของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคเพื่อเสนอผู้นำเขตเศรษฐกิจเจ้าภาพนายกรัฐมนตรีต้อนรับประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคและคณะ พร้อมขอบคุณที่ได้จัดทำรายงานประจำปี 2565 เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะของภาคเอกชนในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “EMBRACE. ENGAGE. ENABLE.” เน้นประเด็นการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน ครอบคลุมและยืดหยุ่น เพื่อให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่า รายงานดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ปี 2565 รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยด้วย ประธาน ABAC ขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่สละเวลาให้เข้าพบในวันนี้ ยืนยันความพร้อมที่จะร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่ มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคของไทยในปีนี้ ทั้งนี้ เชื่อมั่นการทำงานของนายกรัฐมนตรีจะทำให้การจัดการประชุมฯ สำเร็จลุล่วงด้วยดี นอกจากนี้ ประธาน ABAC ขอบคุณและชื่นชมแนวทางการทำงานของนายกรัฐมนตรีในการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดตลาดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งส่งผลต่อการกระชับความร่วมมือใน 4 อุตสาหกรรมเบื้องต้น ได้แก่ ยานยนต์และส่วนประกอบ ปิโตรเคมี อาหาร และวัสดุก่อสร้าง โอกาสนี้ ประธาน ABAC ได้นำส่งรายงานประจำปี 2565 ของ ABAC ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 69 ข้อ โดยมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเงินเฟ้อ การขจัดความไม่มั่นคงทางอาหารและพลังงาน การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม การบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของประเทศสมาชิกเอเปค การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นตัวและการเจริญเติบโต ผ่านการสนับสนุน MSMEs โดยเฉพาะธุรกิจที่ผู้หญิงและคนท้องถิ่นเป็นเจ้าของ รวมถึงการพัฒนาและนำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมาใช้ ทั้งนี้ สำหรับการประชุม ABAC ในปี 2565 ให้ความสำคัญกับ 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Integration Economic) 2. ด้านดิจิทัล (Digital) 3. ด้าน MSMEs และการมีส่วนร่วม (MSME & Inclusiveness) 4. ด้านความยั่งยืน (Sustainability) และ 5. ด้านเศรษฐกิจและการเงิน (Finance and Economics)นายกรัฐมนตรี ขอบคุณสำหรับรายงานฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์และสอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการขับเคลื่อนอยู่ โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ รัฐบาลเร่งพัฒนาและแก้ปัญหาการส่งสินค้าข้ามแดน ผ่านการเจรจาทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งจากข้อเสนอแนะดังกล่าวถือเป็นการบ้านสำหรับประเทศไทยที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน พร้อมยืนยันว่ารัฐบาลดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้านเพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน#โอดี้FMมีเดียประเทศไทย#โอดี้NEWSสำนักข่าวภูมิภาค#สำนักข่าวภูมิภาคโอดี้NEWS
พ.ย. 23, 2024 0
พ.ย. 23, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0