Latest update พฤศจิกายน 25th, 2024 11:29 AM
ส.ค. 25, 2022 admin ข่าวสังคม 0
วันนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) ครั้งที่ 1/65 ที่ประชุมรับทราบแนวทางการถ่ายโอนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จาก ก.ดีอีเอส มาสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งศูนย์เตือนภัยจะปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในภาวะปกติ ภาวะที่มีความเสี่ยง และภาวะที่มีการเกิดภัยพิบัติ . สำหรับความคืบหน้าระบบการเฝ้าระวังและช่องทางการแจ้งเตือนนั้น พบว่า การแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อให้มีการรับมือและอพยพ ผ่านอุปกรณ์การเตือนภัย ประกอบด้วย . หอเตือนภัยจำนวน 338 หอ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม จำนวน 163 แห่งติดตั้ง ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขตทั้ง 18 เขต 70 จังหวัด และสถานีวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด จำนวน 285 แห่ง รับข้อมูลผ่านสัญญาณดาวเทียมและกระจายการแจ้งเตือนด้วยระบบคลื่นวิทยุไปยังหอเตือนภัยขนาดเล็ก จำนวน 674 แห่ง ซึ่งจะส่งถึงหอกระจายข่าวภายในชุมชน และหมู่บ้าน . นอกจากนี้ ประชุมยังเห็นชอบ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านการบริหารการเตือนภัย ด้วยดิจิทัลแบบบูรณาการที่มีมาตรฐานสากล” . พร้อมเห็นชอบการดำเนินการแจ้งเตือนภัยโดยใช้ระบบ Cell Broadcast ด้วยการแจ้งเตือนภัยไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งสามารถระบุพื้นที่ที่จะทำการแจ้งเตือน ไปยังอุปกรณ์สื่อสารจำนวนมากในการส่งเพียงครั้งเดียว . ทั้งนี้ การที่จะทำให้ระบบแจ้งเตือนภัยเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น กิจการกระจายเสียง, กิจการโทรทัศน์, กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมชลประทาน, สทนช. และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น #สำนักข่าวภูมิภาค#โอดี้NEWSรายงาน#โอดี้FMมีเดียประเทศไทย
พ.ย. 25, 2024 0
พ.ย. 25, 2024 0
พ.ย. 25, 2024 0