Latest update พฤศจิกายน 22nd, 2024 5:14 AM
เม.ย. 01, 2022 admin ข่าวดีทั่วไทยส่งเสริมสังคม 0
“สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา” ร่วมกับ “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” และ “สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อสร้างความร่วมมือพัฒนาเนื้อหารายวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าตามมาตรฐานฮาลาล อันก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล และสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติด้วยเศรษฐกิจฮาลาลได้ โดยมีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยี วิจัย และสร้างนวัตกรรมฮาลาล พัฒนารายวิชา และจัดการบริการวิชาการ โดยดำเนินงานใกล้ชิดกับชุมชนมีประสบการณ์ในการจัดสร้างหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการผลิต ผลิตภัณฑ์เกษตรและสินค้าฮาลาล สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล และราชทัณฑ์ฯ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยการสร้าง “มาตรฐานฮาลาล” ถือว่าเป็นระบบบริหารจัดการความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับในสากล เพราะครอบคลุมความปลอดภัยทั้ง ด้านเคมี กายภาพ และชีวภาพ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการที่คำนึงถึงข้อกำหนดตามความต้องการของผู้บริโภค โดยปัจจุบันมาตรฐานฮาลาลของประเทศไทยดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิด Halal for All หรือฮาลาลเพื่อทุกคน ส่งผลให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานฮาลาลนั้น ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั้งในเชิงคุณภาพและความปลอดภัย ซึ่งวัดได้จากการขยายตัวของเศรษฐกิจฮาลาลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งสินค้ากลุ่มอาหาร และกลุ่มที่มิใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางและการบริการ เป็นต้น และด้วย สินค้าเกษตร ถือว่าเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก ซึ่งการสร้างมาตรฐานฮาลาให้กับสินค้าเกษตรจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสามารถช่วยในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้ และด้วยเหตุผลนี้การจัดการเรียนการสอนให้นิสิต นักศึกษา มีทักษะด้านมาตรฐานฮาลาลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างรากฐานพัฒนาคนให้เกิดศักยภาพ ทักษะ ที่เชี่ยวชาญสามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการตกลงทำความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 3 หน่วยงาน อันได้แก่ “สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา” ร่วมกับ “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” และ “สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” จึงเป็นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนารายวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากงานวิจัย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหาร การจัดการ และการควบคุมการผลิตตามมาตรฐานฮาลาลได้อย่างถูกต้อง สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาชีพ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการและตลาดแรงงานอย่างแท้จริง และการร่วมมือครั้งนี้ยังเป็นประโยชน์ในการร่วมกันพัฒนาเนื้อหารายวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าตามมาตรฐานฮาลาล อันก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อยอดองค์ความรู้โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล ซึ่งจะสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติด้วยเศรษฐกิจฮาลาลนั่นเอง รศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย
ข่าว Lek..Yotita โอดี้NEWS รายงาน
พ.ย. 22, 2024 0
พ.ย. 21, 2024 0
พ.ย. 16, 2024 0
พ.ย. 08, 2024 0
พ.ย. 06, 2024 0